ห้องข่าว

ข่าวจากสื่อสื่งพิมพ์

Stock
mai: SICT
4.84 THB
เปลี่ยนแปลง(%)
-(-%)
ปริมาณซื้อขาย (หุ้น)
328,243
มูลค่าการซื้อขาย (บาท)
1,585,190
ปรับปรุงเมื่อ :

Wealthy Thai: SIC หุ้นเทคโนโลยี กำลังจะเข้าตลาด mai ต้นเดือน ก.ค. เปิดจองซื้อไอพีโอ 100 ล้านหุ้น

02 ก.ค. 2563

Highlight

  • เตรียมเข้าเทรด mai ปลายเดือน ก.ค.นี้
  • ตั้งเป้าเป็นเบอร์หนึ่งของโลกในตลาด RFID ปศุสัตว์ ในอีก 4 ปี
  • ไตรมาส 1/63 กำไรสุทธิ 15.58 ล้านบาท พุ่ง 552.3%

นางสาว ปาวีณา เดชอิทธิกุล รองกรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่าจะเปิดจองซื้อหุ้นสามัญต่อประชาชนครั้งแรก (ไอพีโอ) จำนวน 100 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 0.50 บาท ของบริษัทซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SIC ภายในต้นเดือน ก.ค หลังจากนั้นคาดโรดโชว์ช่วงกลางเดือน ก.ค. พร้อมคาดว่าจะนำหลักทรัพย์เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ได้ในช่วงปลายเดือน ก.ค.63

ด้านนายมานพ ธรรมสิริอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SIC เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 100 ล้านหุ้น คิดเป็น 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ณ ขณะนี้ บริษัทมีทุนชำระแล้ว 150 ล้านบาท โดยมีบริษัทฟินเน็กซ์ แอดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาด้านการเงิน และบริษัทหลักทรัพย์ไอร่า จำกัด ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

สำหรับ SIC เป็นผู้ประกอบการไทยที่แข่งขันกับยักษ์ใหญ่ระดับโลก ดำเนินธุรกิจออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์วงจรรวม เต็มรูปแบบ หรือไมโครชิพ ซึ่งสินค้าของบริษัทสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มหลัก คือ

1.สำหรับระบบกุญแจสำรอง อิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ (Immobilizer) 2.สำหรับลงทะเบียนสัตว์ (Animal Tag) 3.สำหรับระบบเข้า-ออก สถานที่ (Access Control) และระบบการอ่านข้อมูล (Interrogator) ซึ่งล้วนแต่มีแนวโน้มขยายตัวและเติบโต อย่างต่อเนื่อง

SIC เป็นบริษัทไทยรายเดียวที่สามารถพัฒนาไมโครชิพสำหรับอุปกรณ์ระบุรหัสประจำตัวสัตว์ ด้วยคลื่นวิทยุได้สำเร็จ (RFID Animal Identification) และในปัจจุบันเป็นผู้นำในตลาดไมโครชิพสำหรับอุปกรณ์ ระบุรหัสประจำตัวสัตว์ด้วยคลื่นวิทยุในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค

ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา SIC เป็นบริษัทในธุรกิจไมโครชิพที่ยืนหยัดแข่งขันในเวทีโลกด้วยรายได้ไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท โดยมีโมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่จะเป็นผู้ออกแบบไมโครชิพ และเป็นเจ้าของเทคโนโลยี จากนั้นจะว่าจ้าง ผู้ผลิตรายอื่นให้ผลิตไมโครชิพ ซึ่งข้อดีของโมเดลแบบนี้ คือ บริษัทมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน และไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนและบริหารโรงงาน ความเสี่ยงจึงต่ำกว่า โดย SIC จะเน้นถือครองทรัพย์สินทางปัญญา

ปัจจุบัน สัดส่วนรายได้ของ SIC มาจากการขายไมโครชิพสำหรับระบบกุญแจสำรองอิเลกทรอนิกส์ยานยนต์ ประมาณ 25-38% ไมโครชิพสำหรับระบบลงทะเบียนสัตว์ 33-42% และไมโครชิพสำหรับระบบเข้า-ออกสถานที่ และระบบการอ่านข้อมูล 27-32%

SIC มีวิสัยทัศน์ที่จะก้าวขึ้นเป็นบริษัทเทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างมากในอนาคต จากโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve - Smart electronics)

โดยบริษัทออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ดีที่สุดเพื่อแข่งขันในตลาดโลก และเป็นผู้นำเทรนด์ในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอนาคตในอีก 3 ปี ข้างหน้า ด้วยการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองกับเทรนด์ใหม่ๆ เหล่านั้น

สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัท ระหว่างปี 2560-2562 มีรายได้รวม เท่ากับ 310.71 ล้านบาท 377.04 ล้าน บาท และ 308.80 ล้านบาท ตามลำดับ

ส่วน กำไรสุทธิในปี 2560 -2562 กำไรสุทธิเท่ากับ 38.66 ล้านบาท 51.68 ล้านบาท และ 24.46 ล้านบาท ตามลำดับ

โดยไตรมาส 1/63 มีรายได้ 95.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.70%จากงวดเดียวกันของปีก่อน 72.85 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ เท่ากับ 15.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 552.3% จากงวดเดียวกันของปีก่อน 2.39 ล้านบาท

การเพิ่มขึ้นของรายได้และกำไรสุทธิในไตรมาส 1/63 มาจากรายได้ในกลุ่มระบบลงทะเบียนสัตว์ ที่เติบโต และรายได้ในกลุ่มระบบกุญแจสำรองฯ ที่เริ่มกลับมาเนื่องจากคลายกังวลเรื่องสงครามการค้า

“SIC มีแผนที่ขยายธุรกิจไมโครชิพอย่างต่อเนื่อง และตั้งเป้าที่จะขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของโลกในตลาด RFID สำหรับ ปศุสัตว์ ในอีก 4 ปี ข้างหน้า พร้อมกันนี้ บริษัทฯ จะต่อยอดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลักของตนเองและ ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อีกด้วย โดย SIC คาดว่าจะมีรายได้เติบโตเฉลี่ยประมาณ 20% ต่อปีในช่วง 4 ปีจากนี้ (ปี 64-67) โดยเรามีรายได้จากต่างประเทศเกือบ 100% มีการบริหารความเสี่ยงค่าเงินอย่างต่อเนื่อง” นายมานพ กล่าว

นางสาวอรุณี พูนทวี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน SIC ระบุว่า บริษัทมีแผนที่จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุน IPO ไปใช้ในการขยายธุรกิจไมโครชิพอย่างต่อเนื่อง ต่อยอดการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีหลักของบริษัท และลงทุนหรือมองหาโอกาสร่วมลงทุนในบริษัทอื่นที่ประกอบธุรกิจด้านการ ออกแบบและพัฒนาวงจรรวม หรือมีนวัตกรรมที่ส่งเสริมการประกอบธุรกิจของ SIC และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ในกิจการทั่วไป

ที่มา: wealthythai

ไฟล์แนบ